เมนู

ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร. ในการ
ที่เขาปวารณาเช่นนั้น เธอไม่รู้จักประมาณเพื่อจะรับปัจจัยสี่มีจีวร
เป็นต้น. ภิกษุเป็นผู้รีดเสียหมดไม่มีส่วนเหลือไว้อย่างนี้.
11. ภิกษุเป็นผู้ไม่บูชาภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระรัตตัญญู
มีพรรษาบวชนานแล้วเป็นบิดาภิกษุสงฆ์ เป็นผู้นำภิกษุสงฆ์ด้วยการบูชา
อันล้นเหลือเป็นอย่างไร. ภิกษุในศาสนานี้ไม่เข้าไปตั้งไว้ซึ่งกายกรรม
วจีกรรม และมโนกรรม อันประกอบด้วยเมตตา ในภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระ
รัตตัญญู มีพรรษาบวชนานแล้ว เป็นบิดาภิกษุสงฆ์ เป็นผู้นำภิกษุสงฆ์
ทั้งในที่แจ้งทั้งในที่ลับ ภิกษุเป็นผู้ไม่บูชาภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระรัตตัญญูมี
พรรษาผนวชนานแล้ว เป็นบิดาภิกษุสงฆ์ เป็นผู้นำภิกษุสงฆ์ด้วยการบูชา
อันล้นเหลือ อย่างนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ 11 ประการเหล่านี้แล
ไม่ควรจะถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้.

องค์เป็นเหตุให้เจริญ 11 ประการ


[386] (พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงธรรมทั้งหลายที่เป็นโทษอย่าง
นี้แล้ว จึงทรงแสดงธรรมทั้งหลายที่เป็นคุณต่อไปว่า)
ภิกษุทั้งหลาย นายโคบาลประกอบด้วยองค์ 10 ประการแล้ว ควร
จะรักษาหมู่โคและทำให้หมู่โคเจริญได้. องค์ 11 ประการเป็นไฉน. นายโค
บาลในโลกนี้ 1. เป็นผู้รู้จักรูป 2.เป็นผู้ฉลาดในลักษณะ 3.เป็นผู้เขี่ยไข่ขางออก
เสีย 4.เป็นผู้ปิดแผล 5.เป็นผู้สุมควัน 6.รู้จักท่า 7.รู้จักให้ดื่ม 8.รู้จักทาง
9. เป็นผู้ฉลาดในตำบลที่โคเที่ยวหากิน 10. เป็นผู้รีดน้ำนมมีส่วนเหลือไว้
11. เป็นพ่อฝูง ด้วยบูชาอันล้นเหลือ. นายโคบาล

ประกอบด้วยองค์ 11 ประการเหล่านี้แล้ว ควรจะรักษาหมู่โคและทำให้หมู่โค
เจริญได้.
ภิกษุก็เหมือนกัน ประกอบด้วยองค์ 11 ประการแล้ว ควรจะถึง
ความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้. องค์ 11 ประการเป็นไฉน.
ภิกษุในธรรมวินัย 1. เป็นผู้รู้จักรูป 2. เป็นผู้ฉลาดในลักษณะ 3. เป็นผู้เขี่ย
ไข่ขางออกเสีย 4. เป็นผู้ปิดแผล 5. เป็นผู้สุมควัน 6. รู้จักท่า 7. รู้จักให้ดื่ม
8. รู้จักทาง 9. เป็นผู้ฉลาดในโคจร 10. เป็นผู้รีดมีส่วนเหลือไว้ 11. เป็นผู้
บูชาภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระรัตตัญญู มีพรรษาผนวชนานแล้ว เป็นบิดา
ภิกษุสงฆ์ เป็นผู้นำภิกษุสงฆ์ ด้วยบูชาอันล้นเหลือ.
[387] 1. ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้รู้จักรูปเป็นอย่างไร. ภิกษุใน
ศาสนานี้ รู้ชัดตามเป็นจริงว่า รูปชนิดใดชนิดหนึ่ง และรูปทั้งปวง ก็คือมหา-
ภูตรูปทั้งสี่ และอุปาทายรูปที่อาศัยมหาภูตรูปทั้งสี่. ภิกษุเป็นผู้รู้จักรูป
อย่างนี้.
2. ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในลักษณะเป็นอย่างไร. ภิกษุในศาสนา
นี้ รู้ชัดตามเป็นจริงว่า คนพาลมีกรรมเป็นเครื่องหมาย บัณฑิตมีกรรมเป็น
เครื่องหมาย. ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในลักษณะอย่างนี้.
3. ภิกษุเป็นผู้เขี่ยไข่ขางออกเสียเป็นอย่างไร. ภิกษุในศาสนา
นี้ไม่ให้กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก และอกุศลกรรมที่เป็นบาปอยู่ทับ
ถม ละเสีย บันเทาเสีย ทำให้สิ้นเสีย ไม่ให้เกิดได้เนืองๆ. ภิกษุเป็นผู้เขี่ยไข่
ขางออกเสียอย่างนี้.
4. ภิกษุเป็นผู้ปิดแผลเป็นอย่างไร. ภิกษุในศาสนานี้ เห็น
รูปด้วยตา ฟังเสียงด้วยหู ดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องสิ่งที่จะพึง

ถูกต้องด้วยกาย รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือไว้โดยนิมิต ไม่ถือไว้
โดยอนุพยัญชนะ ธรรมทั้งหลายที่เป็นบาปอกุศลมีอภิชฌาและโทมนัสเป็นต้น
เค้า ย่อมอาจไหลไปตามบุคคลผู้ไม่สำรวมอินทรีย์ มีอินทรีย์ที่ไม่สำรวมแล้ว
ใดเป็นเหตุ เธอปฏิบัติเพื่อจะสำรวมอินทรีย์นั้น. ภิกษุเป็นผู้ปิดแผลอย่าง
นี้.
5. ภิกษุเป็นผู้สุมควันเป็นอย่างไร. ภิกษุในศาสนานี้ แสดง
ธรรมตามที่ตนได้ฟังได้เรียนแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร. ภิกษุเป็นผู้สุมควันอย่าง
นี้.
6. ภิกษุรู้จักท่าเป็นอย่างไร. ภิกษุในศาสนานี้ไปหาแล้วและ
ไต่ถามไล่เลียงภิกษุทั้งหลายผู้มีพุทธวจนะฟังแล้วมาก เป็นผู้รู้หลัก ทรง
ธรรมทรงวินัยทรงมาติกาว่า ภาษิตนี้เป็นอย่างไร เนื้อความของภาษิตนี้เป็น
อย่างไร โดยระยะกาล. เธอผู้มีอายุทั้งหลาย จึงเปิดเผยข้อความที่ยังลี้
ลับ ทำข้อความอันลึกซึ้งให้ตื้น และบันเทาความสงสัย ในเหล่าธรรมที่เป็นที่
ตั้งแห่งความสงสัย ซึ่งยังมีเป็นอันมากแก่เธอ. ภิกษุรู้จักท่าอย่างนี้แล.
7. ภิกษุรู้จักดื่มเป็นอย่างไร. ภิกษุในศาสนานี้ เมื่อธรรมและ
วินัยที่พระตถาคตให้รู้แจ้งแล้ว อันผู้ใดผู้หนึ่งแสดงอยู่ ย่อมได้ความรู้ธรรมรู้
อรรถและความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม. ภิกษุรู้จักดื่มอย่างนี้.
8. ภิกษุรู้จักทางเป็นอย่างไร. ภิกษุในศาสนานี้ รู้ชัดอัฏฐังคิก
มรรคเป็นทางอันประเสริฐตามเป็นจริง. ภิกษุรู้จักทางอย่างนี้แล.
9. ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในโคจรเป็นอย่างไร. ภิกษุในศาสนานี้รู้ชัด
สติปัฏฐานทั้งสี่ตามเป็นจริง. ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในโคจรอย่างนี้แล.
10. ภิกษุเป็นผู้รีดมีส่วนเหลือไว้เป็นอย่างไร. คฤหบดีทั้ง
หลายผู้มีศรัทธา มาปวารณาคือเชิญภิกษุในคาสนานี้ให้เลือกรับ ด้วย

จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริกขาร. ในการที่
เขาปวารณาเช่นนั้น เธอรู้จักประมาณเพื่อจะรับปัจจัยสี่มีจีวรเป็นต้น.
ภิกษุเป็นผู้รีดมีส่วนเหลือไว้อย่างนี้แล.
11. ภิกษุเป็นผู้บูชาภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นเถระเป็นรัตตัญญูมี
พรรษาบวชนานแล้ว เป็นบิดาภิกษุสงฆ์เป็นผู้นำภิกษุสงฆ์ด้วยบูชาอันล้น
เหลือเป็นอย่างไร. ภิกษุในศาสนานี้เข้าไปตั้งไว้ซึ่งกายกรรม วจีกรรม
และมโนกรรม อันประกอบด้วยเมตตา ในภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นพระเถระ
รัตตัญญูมีพรรษาบวชนานแล้ว เป็นบิดาภิกษุสงฆ์เป็นผู้นำภิกษุสงฆ์
ทั้งในที่แจ้งทั้งในที่ลับ ภิกษุเป็นผู้บูชาภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระ
รัตตัญญู มีพรรษาบวชนานแล้ว เป็นบิดาภิกษุสงฆ์ เป็นผู้นำภิกษุสงฆ์
ด้วยบูชาอันล้นเหลืออย่างนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ 11 ประการเหล่านี้แล้ว ควร
จะถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธรรมปริยายนี้จบแล้ว ภิกษุเหล่านี้มีใจเต็ม
ตื้นไปด้วยปีติโสมนัสเพลิดเพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ฉะนี้
แล.

จบมหาโคปาลสูตรที่ 3.

อรรถกถามหาโคปาลสูตร


มหาโคปาลสูตรมีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ. เราได้ฟังมาแล้วอย่างนี้
ในมหาโคปาสูตรนั้น มี 3 กถา คือ เอกนาลิกา จตุรสฺสา นิ
สินฺนวตฺติกา
. การกล่าวบาลีในกถาทั้ง 3 นั้น และกล่าวเนื้อความแต่ละ
บท ชื่อว่า เอกนาลิกา. การแสดงนายโคบาลผู้ไม่ฉลาด แสดงภิกษุไม่ฉลาด
แสดงนายโคบาลผู้ฉลาด แสดงภิกษุผู้ฉลาด กล่าวประมวลไว้เป็น 4
พวก ชื่อว่า จตุรสฺสา. การแสดงนายโคบาลผู้ไม่ฉลาดไปถึงที่สุด การแสดง
ภิกษุผู้ไม่ฉลาด ไปถึงที่สุด การแสดงนายโคบาลผู้ฉลาด ไปถึงที่สุด การ
แสดงภิกษุผู้ฉลาด ไปถึงที่สุด นี้ชื่อว่านิสินนวุตติกา. กถานี้อาจารย์ทั้งปวง
ในธรรมวินัยประพฤติกันมาแล้ว
บทว่า เอกาทสหิ ภิกฺขเว องฺเคหิ คือโดยส่วนแห่งโทษ 11 อย่าง
บทว่า โคคณํ แปลว่าฝูงโค. บทว่า ปริหริตุํ ได้แก่ พาเที่ยวไป. บทว่า ผาติกาตุํ
ได้แก่ ให้ถึงความเจริญ. บทว่า อิธ คือ ในโลกนี้. บทว่า น รูปญฺญู โหติ
ได้แก่ ย่อมไม่รู้จักรูปโดยการนับ หรือโดยสี. ชื่อว่าย่อมไม่รู้จักโดย
การนับ คือย่อมไม่รู้จักนับ โคของตนว่า ร้อยหนึ่ง หรือ พันหนึ่ง. นายโคบาล
นั้นเมื่อแม่โคถูกฆ่า หรือหนีไปนับฝูงโคแล้ว ทราบว่า วันนี้แม่โคประมาณ
เท่านี้ หายไปดังนี้ เที่ยวไปตลอด 2-3 ละแวกบ้าน หรือดง ย่อมไม่แสวง
หา เมื่อแม่โคของคนอื่นเข้าไปยังฝูงโคของตน นับจำนวนแล้วทราบว่า
โคเหล่านี้ประมาณเท่านี้ ไม่ใช่ของเราดังนี้ ไม่เอาไม้ตะพดตีออกไป แม่
โคของเขาที่หายไปแล้ว ก็เป็นอันหายไป. เขาต้อนแม่โคของคนอื่นเที่ยว